วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ

                                             ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ 6 ฟังก์ชั่น

              มุมมองแบบที่สองของฟังก์ชันตรีโกณมิติ คือมุมมองจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก พิจารณารูป
        สามเหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่งทมี่ ีมุมแหลมมุมหนึ่งเป็น θ ดงรั ูป 3.1 ด้านของรูปสามเหลี่ยมที่                       เกี่ยวข้องกับมุม 
        θ ได้แก่ด้านตรงข้ามมุมฉาก ด้านตรงข้ามมุม θ และด้านประชิดมมุ θ 
                                             อ่านเพิ่มเติม


                                   

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เลขยกกำลัง



           การยกกำลัง คือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง เขียนอยู่ในรูป an ซึ่งประกอบด้วยสองจำนวนคือ ฐาน a และ เลขชี้กำลัง (หรือ กำลัง) n การยกกำลังมีความหมายเหมือนการคูณซ้ำ ๆ กัน คือ a คูณกันเป็นจำนวน nตัว เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก

คล้ายกับการคูณซึ่งมีความหมายเหมือนการบวกซ้ำ ๆ กัน

โดยปกติเลขชี้กำลังจะแสดงเป็นตัวยกอยู่ด้านขวาของฐาน จำนวน an อ่านว่า a ยกกำลัง n หรือเพียงแค่ a กำลัง nในภาษาอังกฤษอาจเรียกการยกกำลังบางตัวต่างออกไปเช่น a2 จะเรียกว่า square และ a3 เรียกว่า cube เป็นต้น เมื่อตัวยกไม่สามารถใช้ได้เช่นในข้อความแอสกี ก็มีรูปแบบการเขียนอย่างอื่นที่ใช้กันอาทิ a^n และ a**n เป็นต้น

เลขยกกำลัง an อาจนิยามให้ n เป็นจำนวนเต็มลบก็ได้เมื่อค่า a ไม่เป็นศูนย์ ตามปกติไม่สามารถกระจายจำนวนจริง a กับ n ได้ทุก ๆ ค่าโดยธรรมชาติ แต่เมื่อฐาน a เป็นจำนวนจริงบวก จำนวน anสามารถนิยามเลขชี้กำลัง n ได้ทุกค่าแม้แต่จำนวนเชิงซ้อนผ่านฟังก์ชันเลขชี้กำลังez ฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการยกกำลังได้    อ่านเพิ่มเติม